มาตรา 95 ว่าไว้ว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องทำความเห็นมาก่อน หากนายทะเบียนเห็นควรยุบพรรคประชาธิปัตย์ จึงจะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของ กกต. เพื่อให้ความเห็นชอบ แต่หากนายทะเบียนมีความเห็นว่าไม่ควรยุบพรรค เรื่องเป็นอันยุติ (ซึ่งนายสุชาติเคยทำความเห็นว่าไม่ควรมาก่อน )
มาดูกันเกี่ยวกับเรื่อง พรบ. พรรคการเมืองอีกเล็กน้อยนะคะ
1.ประเด็นเงินสนับสนุนต้องเป็นไปตาม ม.62
2.ประเด็นเงื่อนไขพิจาณายุบพรรคต้องเป็นไปตาม ม. 64
ม.94 ระบุไว้ว่า การกระทำของพรรคการเมืองที่อาจจะถูกยุบพรรคไว้ว่า ต้องเข้าหลัก 5 ข้อ ตาม ม.21 (1) ม.43 ม.65 ม.66 ม.69 และ ม.104
กรณีของพรรค ปชป ไม่เข้าเกณฑ์ตามข้อ 1-4
เรามาดูตามข้อ 5 แต่ละมาตรากันดีกว่านะคะ
ม. 21 วรรค 1 เรื่องรับบุคคลมิใช่สัญชาติไทย ไม่เข้าข่าย
ม. 43 เรื่องสนับสนุนผู้ลงเลือกตั้ง สว ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่เข้าข่าย
ม. 65 เรื่องรับเงินบริจาคมิชอบ ไม่เข้าข่าย
ม. 66 เรื่องรับเงินบริจาคจากผู้ก่อการร้าย ไม่เข้าข่าย
ม. 69 เรื่องรับเงินบริจาดจากบุคคลและนิติบุลคลต้องห้าม ไม่เข้าข่าย
ม. 104 เรื่องสนับสนุนหรือกลั่นแกล้งพรรคการเมืองอื่น ไม่เข้าข่าย
คำแถลงปิดคดีของ กกต ที่ออกมาเป็นความเห็นของ กกต ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการพิจารณาของ ศาล
นายทะเบียนเปรียบไปก็เหมือนเป็นผู้ชี้เป้า ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน ทั้ง 2 ส่วนจึงไม่จำเป็นต้องเห็นตรงกัน
อนึ่ง ศาลท่านต้องพิจารณาตามกฏหมายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในการยุบพรรคว่าเข้าเงื่อนไขหรือไม่ ส่วนตัวมั่นใจว่า ไม่ยุบ เพราะไม่เข้าข่ายเงื่อนไขตามที่ระบุ
และหากศาลพิจารณาออกมาว่าไม่ยุบตามที่ผู้เขียนเชื่อ จึงไม่ใช่ศาล 2 มาตรฐานอย่างที่เสื้อแดงพยายามจุดประเด็นแต่อย่างใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น