วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กับการบิดเบือนซ้ำซากของคนเสื้อแดง

หลังจากศาลมีคำวินิจฉัยออกมา  เสื้อแดงในบอร์ดนี้  และหลายๆที่ๆพวกเขาไปสิงถิตย์อยู่ก็พูดถึง 2 มาตรฐานขึ้นมาทันที  และเท่าที่สังเกตุ  ข้อมูลที่เขานำมาอ้างก็มักมาจากแหล่งเดียวกัน  นั่นก็คือ  ตารางเปรียบเทียบการยุบพรรคของ  มติแดง  เอ๊ย  มติชนนั่นเอง


พวกเขาพยายามชี้ให้เห็นว่า กรณียุบพรรคในอดีตนั้น มีการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยภายหลัง 15 วันทั้งหมด แต่กลับไม่รอดเหมือนกับ ปชป  โดยที่ไม่มีใครคิดจะค้นหาข้อเท็จจริงด้วยตัวเอง  บางคนถึงกับเก็บขี้ปากต่างชาติมาโชว์รอยหยักในสมองน้อยๆของตัวเองเลยทีเดียว 
เสื้อแดงทำอาการโดดเข้างับรายงานจาก มติแดง เอ๊ย  มติชน คนกันเองอย่างหน้ามืดตามัว  แต่ในฐานะคนที่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมว่าไม่มี 2 มาตรฐานแน่นอน  จึงได้ค้นหาความจริงจากมาตราต่างๆในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง  และก็ได้คำตอบที่ตอกย้ำความมั่นใจดังนี้

เมื่อลองไปดู
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 รวมถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ( ตุลาการรัฐธรรมนูญ) เราจะพบความจริงดังนี้
คำวินิจฉัยที่ผ่านมา  พรรคการเมืองที่ถูกยุบ ต่างทำความผิดตามมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550  มาตรา 94 และ 95 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550

เมื่อไปดูในมาตรา 94 และ 95 ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ บัญญัติไว้ว่า
มาตรา 94 เมื่อพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง

( 1 ) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกระทำการตามที่รัฐธรรมนูญให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจโดยวิธีการดังกล่าว

(2 ) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

(3 ) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ

(4) กระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร หรือขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

มาตรา 95  เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียน หรือเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งจากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและได้ตรวจ สอบแล้วเห็นว่าพรรคการเมืองใดกระทำการตามมาตรา 94 ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งต่ออัยการสูงสุด พร้อมด้วยหลักฐาน เมื่ออัยการสูงสุดได้รับแจ้งให้พิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าอัยการสูงสุดเห็นสมควร ก็ให้ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าว ถ้าอัยการสูงสุดไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้นายทะเบียนตั้งคณะทำงาน ขึ้นคณะหนึ่งโดยมีผู้แทนจากนายทะเบียนและผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน แล้วส่งให้อัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป ในกรณีที่คณะทำงานดังกล่าวไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับการดำเนินการยื่นคำร้อง ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่แต่งตั้งคณะทำงาน ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจยื่นคำร้องเอง

ไม่มีการระบุกำหนดเวลาที่นายทะเบียนพรรคการเมืองส่งเรื่องต่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไป (มีแต่เพียงการกำหนดเวลาให้อัยการสูงสุดดำเนินการให้เสร็จ

ส่วนกรณีของพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้เป็นความผิดตามมาตรา 82 ประกอบมาตรา 42 เป็นเหตุให้ยุบพรรคตามมาตรา 93 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550
มาตรา 82 บัญญัติไว้ว่า

พรรคการเมืองที่ได้รับเงินสนับสนุนต้องใช้จ่ายเงินสนับสนุนให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ และส่วนที่ การใช้จ่ายของพรรคการเมือง และจะต้องจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองในรอบปีปฏิทิน ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป และให้นำความในมาตรา 42 วรรค  2  มาใช้บังคับโดยอนุโลม

(มาตรา 42 วรรค 2) เมื่อครบระยะเวลาการรายงานตามวรรค1แล้ว หากพรรคการเมืองใดยังไม่ได้รายงานให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้หัวหน้าพรรค การเมืองรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าพ้นกำหนดระยะเวลาแล้วยังมิได้รายงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการเพื่อให้มี การยุบพรรคการเมืองนั้น
ส่วนมาตรา 93 บัญญัติไว้ว่า

ในกรณีที่พรรคการเมืองใดมีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมืองแต่พรรคการเมืองนั้นยังมีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ หรือในกรณีที่พรรคการเมืองใดไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 42  วรรค 2 หรือมาตรา 82 ให้ยุบพรรคการเมืองนั้น

เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง
ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15วันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองตามคำร้องของนายทะเบียน ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น
สังเกตว่า  มีการระบุระยะเวลาที่นายทะเบียนพรรคการเมือง จะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ คือต้องส่งใน 15 วัน หลังจากความปรากฏ
และนี่เอง ที่เป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยออกมาว่า
พ้นระยะเวลาในการยื่นคำร้อง และทำให้พรรคประชาธิปัตย์รอดในคดียุบพรรคครั้งนี้

เห็นกันชัดๆขนาดนี้  หวังว่าเสื้อแดงที่กำลังฟูมฟายเรื่อง 2 มาตรฐานจะหยุดโชว์รอยหยักในสมองอันน้อยนิด  แล้วเลิกเชื่อขี้ปากคนอื่นง่ายๆได้แล้วค่ะ   ***โปรดใช้หัวคิดให้มาก  อย่าดีแต่ใช้ปากพ่นขยะสู่สังคมนะคะ   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น